เป็น อยู่ คือ... วิถีชาวพม่า ตอนที่ 2

วัฒนธรรมและประเพณี พม่าปิดประเทศมายาวนาน คนพม่าจึงดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนั้น ชาวพม่าส่วนใหญ่ยังมีค่านิยมเรื่องความเป็นมงคล และมีศรัทธามั่นในพุทธศาสนา งานประเพณีของพม่าจึงเกี่ยวโยงกับพุทธศาสนาและธรรมชาติอย่างไม่อาจเลี่ยง โดยประเพณีสำคัญๆ ของพม่าส่วนใหญ่เป็นส่วนหนึ่งในประเพณีสิบสองเดือน https://dmc.tv/a18145

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 10 มิ.ย. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18417 ]

เป็น อยู่ คือ... วิถีชาวพม่า  ตอนที่ 2

ตัวอย่าง  งานสงกรานต์ของวันสุดท้าย   ประเทศพม่า

     พม่าปิดประเทศมายาวนาน  คนพม่าจึงดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น  นอกจากนั้น  ชาวพม่าส่วนใหญ่ยังมีค่านิยมเรื่องความเป็นมงคล  และมีศรัทธามั่นในพุทธศาสนา  งานประเพณีของพม่าจึงเกี่ยวโยงกับพุทธศาสนาและธรรมชาติอย่างไม่อาจเลี่ยง  โดยประเพณีสำคัญๆ  ของพม่าส่วนใหญ่เป็นส่วนหนึ่งในประเพณีสิบสองเดือน

ประเพณีสิบสองเดือนคืออะไร

     ประเพณีสิบสองเดือนคือ  งานประเพณีที่เกิดขึ้นแต่ละเดือนในรอบหนึ่งปี  ในสมัยราชวงศ์  พม่าถือเอาประเพณีเหล่านี้เป็นพระราชพิธี  ปัจจุบันบางประเพณีได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เข้ายุคสมัย  เปลี่ยนเดือนจัดงาน  หรือยกเลิกไป  แต่พม่ายังพยายามสืบทอดประเพณีเหล่านี้อยู่

เดือนสากล

เดือนพม่า

งานประจำเดือน

มี.ค.-เม.ย.

เดือนหนึ่ง

   “งานฉลองสงกรานต์”  พม่าถือว่าเดือนนี้เป็นเดือนเริ่มต้นปีใหม่เช่นเดียวกับไทย  และมีการเล่นน้ำสาดน้ำเหมือนกันด้วย

เม.ย.-พ.ค.

เดือนสอง

   “งานรดน้ำต้นโพธิ์”  จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ  ตรัสรู้  และปรินิพพาน

พ.ค.-มิ.ย.


เดือนสาม

   “งานมงคลไถนา”  เดือนนี้เป็นเดือนแห่งการเริ่มต้นเพาะปลูก  ในอดีตเคยมีพิธีแรกนาขวัญ

มิ.ย.-ก.ค.

เดือนสี่

   “วันธรรมจักร”  จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา

ก.ค.-ส.ค.


เดือนห้า

“งานบูชาผีนัต”  เป็นงานเช่นไหว้บวงสรวงบูชานัต  ซึ่งคือ  เทวดา  เทพรักษ์  หรือผีตามความเชื่อของชาวพม่านั่นเอง

ส.ค.-ก.ย.


เดือนหก

   “งานแข่งเรือ”  เดือนนี้เป็นเดือนน้ำหลานหลายแห่งจึงจัดงานแข่งเรือกันอย่างสนุกสนานปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว

ก.ย.-ต.ค.


เดือนเจ็ด

   “วันอภิธรรม”  พระสงฆ์ทำปวารณา  และชาวพุทธจุดประทีปเพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้าซึ่งจะเสด็จลงมาจากสวรรค์หลังจากเสด็จไปจำพรรษา

ต.ค.-พ.ย.

เดือนแปด

   “งานตามประทีป”  หรือวันลอยกระทงของไทยจัดขึ้นช่วงย่างเข้าฤดูหนาวเช่นเดียวกัน

พ.ย.-ธ.ค.


เดือนเก้า

   “งานเทิดเกียรติกวี”  เป็นงานเทิดเกียรติกวีและนักปราชญ์พม่า  จะมีการอ่านบทประพันธ์กันตามสถานศึกษาและชุมชน

ธ.ค.-ม.ค.


เดือนสิบ

   “งานอัศวยุทธ์”  สมัยโบราณเคยเป็นงานประลองยุทธ์  ทั้งช้างศึก  ม้าศึก  และอาวุธต่างๆ  ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว

ม.ค.-ก.พ.


เดือนสิบเอ็ด

   “งานหลัวไฟพระเจ้า”  ช่วงเดือนนี้อากาศหนาวเย็น  ชาวพม่าจะผิงไฟให้ร่างกายอบอุ่น  และจัดงานบุญบูชาไฟตามพระเจดีย์  เพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้าด้วยกัน

ก.พ.-มี.ค.


เดือนสิบสอง

   “งานก่อเจดีย์ทราย”  เป็นการก่อเจดีย์ทรายจำลองรูปเขาพระสุเมรุ  ปัจจุบันไม่นิยมจัดแล้ว

ประเพณีอื่นๆ

ประเพณี  รำผี

รำผี

     เป็นการรำเซ่นสรวงบูชาผีประจำตระกูล  พร้อมตระเตรียมเครื่องเซ่นเพื่อเซ่นเพื่อบูชา  เช่น  อาหารคาว  อาหารหวาน  ดอกไม้  ธูป  เทียน  มันจัดปีละครั้งช่วงงานฉลองสงกรานต์  ในอีกแง่หนึ่งเชื่อว่าพิธีกรรมนี้ช่วยบำบัดโรคด้วย

ประเพณี  การเล่นลูกหนู

การเล่นลูกหนู

     สมัยก่อนทำเพื่อจุดไฟถวายเพลิงศพพระภิกษุตามธรรมเนียมโบราณ  คือไม่จุดด้วยมือโดยตรง  แต่ปัจจุบันจัดเป็นการแข่งขันอย่างสนุกสนาน

     นอกจากประเพณีหลักๆ ดังกล่าว  ดินแดนพม่ายังเต็มไปด้วยวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์

ร่ายรำระบำแบบพื้นเมือง

ร่ายรำระบำแบบพื้นเมือง  มอญรำ

มอญรำ

     เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของชาวมอญ  มักแสดงในงานสำคัญ  เช่น  งานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง  การแสดงนี้อาศัยตะโพนเป็นเครื่องดนตรีหลัก  ผู้แสดงจะต้องทิ้งมือลงให้ตรงจังหวะตะโพน

การแสดงจ๊าดไต

     (ลิเกไลใหญ่)  เป็นการแสดงลิเกคณะใหญ่  ใช้คน  20 – 50 คน  ส่วนใหญ่เริ่มด้วยการบูชาครู  ส่วนใหญ่เริ่มด้วยการบูชาครู  ร้องขอบคุณผู้ชมชื่นผู้จัด  แล้วจึงร้องและแสดงตามเนื้อเรื่องซึ่งหยิบมาจากชาดกในพุทธศาสนา  วรรณคดี  หรือเรื่องแต่งใหม่ที่ให้คติสอนใจคนดู

การแสดงจ๊าดไต  ก้าลาย

ก้าลาย

     เป็นการฟ้อนซึ่งประยุกต์ขึ้นจากศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า  ชาวไทใหญ่นำมาพัฒนาเป็นการแสดงที่สวยงาม  รำเข้าจังหวะกับกลองมองเซิงและกลองกันยาว

 

การแสดงจ๊าดไต  รำตง

รำตง

     เป็นการละเล่นของกะเหรี่ยงมักใช้หญิงยังไม่แต่งงานยืนเข้าแถวตอนลึก  ร้องเพลงประกอบการร่ายรำและดนตรี  เนื้อร้องเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติกะเหรี่ยง  การอบลมให้เป็นคนดี  และพุทธศาสนา

     ชบา  เป็นดอกไม้ต้องห้ามสำหรับทัดหูของชาวพม่า  เพราะใช้ทัดหูคนตายเท่านั้น

     แม้พม่าเคยตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ  แต่ก็ยังคงรักษาวิถีไว้ได้ในหลายด้าน  รวมถึงเรื่องเครื่องแต่งกาย  โดยเครื่องแต่งกายประจำชาติของพม่าคือ  โลงยี  เป็นโสร่งทำจากผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม  นิยมสวมใส่ทั้งชายและหญิง

เครื่องแต่งกายประจำชาติของพม่า

การแต่งกายของชายชาวพม่า  นุ่งโลงยีสีไม่ฉูดฉาด  คู่กับเสื้อขาวและรองเท้าแตะคีบ  เมื่อมีพิธีจะสวมเสื้อคล้ายเสื้อจีนแขนยาวถึงข้อมือ  ทั้งแบบชายสั้นและยาวถึงสะโพก  สีสุภาพ  คู่กับรองเท้าหุ้มส้น

การแต่งกายของหญิงชาวพม่า  นุ่งโลงยีมีลวดลายเล็กๆ  คู่กับเสื้อตัวสั้นมีแขน  ตัดจากผ้าไนลอนสวมรองเท้าแตะคีบเหมือนผู้ชาย  แต่มีสีสัน  ลวดลายหรือประดับด้วยลูกปัด  ดิ้นเงินดิ้นทอง  นอกจากนี้ยังสะพายย่ามผ้าไหม  ประแป้ง  ทะนะคา  และเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของผู้หญิงพม่าคือการทัดดอกไม้  ทั้งที่กลิ่นหอมและสีสันสวยงาม

     ทะนะคา  เป็นแป้งทำจากเนื้อไม้ทะนะคา  มีสีออกเหลืองนวล  กลิ่นหอมเย็น  ชาวพม่าใช้กันมายาวนานตั้งแต้โบราณ

     “ผิวพม่า  นัยน์ตาแขก”  เป็นคำกล่าวของไทยที่มีมานาน  คือ  การชมหญิงงามว่าผิวสวยละเอียดอย่างคนพม่า  หลายคนเชื่อว่าที่ชาวพม่ามีผิวสวยเพราะทาแป้งทะนะคาเป็นประจำนั่นเอง

     คนพม่ากินข้าวเจ้าเป็นอาหารหลักแบบเดียวกับคนไทยภาคกลาง  กับข้าวมีทังแกง  ต้ม  ผัด  และน้ำพริก  แต่ส่วนผสมและรสชาติต่างออกไป  โดยได้รับอิทธิพลจากอินเดียมากกว่า  จึงอาจหนักเครื่องเทศและมีกลิ่นฉุนกว่า

ตัวอย่างอาหารพม่า

หล่าเพ็ด

หล่าเพ็ด

     เป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ในเทศกาลต่างๆ  ลักษณะคล้ายเมี่ยง  กินกับเครื่องเคียงเช่น  ใบชาหมัก  กระเทียมเจียว  ถั่วต่างๆ  งาคั่ว  ขิง  กุ้งแห้ง  มะพร้าวคั่ว

 

โมฮิงกา

โมฮิงกา

     เรียกได้ว่าเป็นอาหารประจำชาติของชาวพม่า  เนื่องจากนิยมทั่วทั้งประเทศพบได้ทุกภูมิภาค  หน้าตาคล้ายขนมจีนน้ำยาของไทย  แต่ส่วนผสมต่างกันเล็กน้อยใสขมิ้น  หยวกกล้วย  ขิง  และมักกินกับของทอด


     เครื่องดนตรีอันเป็นเอกลักษณ์ของพม่า  คือ 
ส้วง  หรือพิณพม่า เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่ยังคงอยู่มาจนทุกวันนี้ พม่ามีวงดนตรีประจำชาติเรียกว่า  ซายวาย  เป็นวงปี่พาทย์พม่า  มีเฉพาะเครื่องตีและเครื่องเป่า  ใช้เล่นทั้งในงานพิธีและงานบันเทิงตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันเสียงดนตรีที่บรรเลงโดยวงซายวายให้อารมณ์หลากหลาย  ตั้งแต่นุ่มนวลครื้นแครงไปจนโศกเศร้า

บทความที่เกี่ยวข้องกับเป็น  อยู่  คือ... วิถีชาวพม่า ตอนที่ 2

 

อาเซียน 10 ประเทศ
เมียนมาร์หนึ่งในประชาคมอาเซียน 
ทำเลที่ตั้ง ประเทศเมียนมาร์
ปกบ้านครองเมือง  ประเทศเมียนมาร์
ทำมาค้าขาย  ประเทศเมียนมาร์
เป็น  อยู่  คือ... วิถีชาวพม่า


http://goo.gl/17s5ik


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related
คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
  คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก 2567 World No Tobacco Day 31 พฤษภาคม..
(13 พ.ค. 2558)    ชม 18,334 ครั้ง